2024-05-17

หนึ่งในสิ่งมหัศจรรย์ของโลกหรือก้อนหินที่ใหญ่ที่สุดในโลก




อูลูรูคือหินที่ผุดขึ้นมาจากใต้พื้นดิน เสียดแทงขึ้นสู่ท้องฟ้า สีแดงโดดเด่นตั้งตระหง่านนั่นคือ Spinifex, Uluru (Ayers Rock) และ Kata Tjuta (The Olgas) ภาพถ่ายทุกภาพจึงไม่อาจชี้ขาดได้ว่า ภาพไหน จะสวยกว่ากัน อันเนื่องจากความงามจากธรรมชาติ แห่งนี้ Uluru ยืนตระหง่านที่ความสูง 348 เมตร และเหมือนกับภูเขาน้ำแข็งที่ส่วนใหญ่ของหิน ยังคงอยู่ข้างใต้

 

#news#

 

เมื่อดวงอาทิตย์อุทัยสาดแสงไปทั่วแผ่นฟ้า โขดหินอูลูรูก็เริ่มเผยโฉมออกมา หินสีดำทะมึนในยามราตรีกาลก็ค่อยๆกลายเป็นสีม่วงอ่อน ปรากฎเป็นรูปร่างทีละน้อย และเมื่อดวงอาทิตย์เริ่มสาดแสง ผิวนอกของโขดหินอูลูรูก็จะสะท้อนแสงอาทิตย์เป็นประกายสีสันต่างๆล้อไล่กันไปอย่างรวดเร็วมีตั้งแต่สีแดงแก่อ่อนจนถึงสีชมพูโทนต่างๆ จนในที่สุดโขดหินก็สว่างทั้งก้อน ท่ามกลางแสงในเวลากลางวันของทะเลทราย จากสีสันต่างๆแปรเปลี่ยนตลอดทั้งวัน มีตั้งแต่สีทอง สีดง ชมพู สีทับทิม สีแดงก่ำ และสีม่วง

 


โขดหินอูลูรูถือเป็นสัญลักษณ์ของประเทศออสเตรเลียอย่างนึง เช่นเดียวกันโรงละครโอเปร่าของเมืองซิดนีย์ ชื่ออูลูรูซึ่งเป็นชื่อทางการที่ในปัจจุบันเป็นภาษาอะบอริจินของชาวอะบอริจินี (ชาวพื้นเมืองของออสเตรเลีย) แปลได้ว่า "สถานที่พบปะ" นักท่องเที่ยวมาเที่ยวที่นี่กว่า 400,000 ต่อปีและเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อีกชื่อหนึ่งของโขดหินอูลูรู คือโขดหินแอร์ส ซึ่งแต่งเพื่อเป็นเกียรติแก่ เซอร์เฮนรี แอร์ส นายกรัฐมนตรีของเซาธ์ออสเตรเลีย

 

การปีนอูลูรูนั้นเป็นกิจกรรมที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกให้มาที่นี แต่ต้องขอเตือนผู้ที่จะไปปีนก่อนว่าทุกๆ 2-3วันเจ้าหน้าที่อุทยานจะต้องออกไปช่วยชิวิตใครซักคน หลังจากปี 1995 ทางการจึงจัดให้มีเส้นทางเดินชมให้กับนักท่องเที่ยว เป็นทางเลือก ซึ่งใช้เวลาในการเดิน 3 ชม. และขอเตือนสำหรับผู้ที่คิดจะเก็บของที่ระลึกกลับบ้านว่าเจ้าหน้าที่ได้รับจดหมายส่งคืนก้อนหินเฉลี่ยสัปดาห์ละ 2 ฉบับ โดยผู้ส่งแจ้งว่าได้รับโชคร้ายนานาหลังจากที่มาพักที่นี่

 

 

การเดินทางไปนั้นมีเที่ยวบินทุกวันจากอะลิซสปริงส์ (Alice Springs) แคนส์ (Cairns) เพิร์ธ และซิดนีย์ ลงสนามบินอะเยอร์ร็อก(Ayers Rock) หรือสนามบินคอนเนลแลน(Connellan airport) และอีกสี่เที่ยวบินจากเมลเบิร์นต่อสัปดาห์ยังมีบริษัทเช่าเหมาอีกจำนวนมาที่คุณสามารถหาประสบการณ์บินสัมผัส สีสันแห่งทะเลทรายเบื้องล่างบนเครื่องบินส่วนตัว

 

การรับส่งจากสนามบิน: สนามบินตั้งอยู่ห่างจากอะเยอร์ร็อกรีสอร์ทเพียงแค่ 6 กม. มีรถโค้ชรับส่งจากสนามบินอะเยอร์ร็อกสู่รีสอร์ททุกเที่ยวบิน สะดวกสบายมาสำหรับท่านที่ต้องการมาเที่ยว อุทยานแห่งชาติดูลูรู-คาตาทจูตา ที่ซึ่งเป็นที่อะเยอร์ร็อกตั้งอยู่ไม่มีที่พัก และไม่อนุญาตให้ตั้งแคมป์ ดังนั้น คุณจึงต้องไปพักที่ยูลารา(Yulara)

 

โดยรถยนต์: ด้วยระบบทางด่วนที่ยอดเยี่ยม จึงทำให้ขับรถเป็นเรื่องที่ง่ายดาย หมายเหตุ: Ayers Rock / Uluru มีระยะทาง 461กม. หรือใช้เวลาขับรถประมาณ สี่ชั่วโมงครึ่ง ดังนั้น เนื่องด้วนระยะทางที่ไกล การต้องวางแผนในการเดินทางให้ดี

 

โดยรถโค้ช: ทัวร์ส่วนใหญ่จะเริ่มต้นและสิ้นสุดที่อะลิซสปริงส์ มีรถโค้ชมากมายให้เลือกเดินทางไปกลับจากอะลิซสปริงส์ทุกวัน ผู้ที่ไปเยี่ยมชมโขดหินนี้สามารถมองเห็นได้ไกลในระยะ 100 เมตร และตกตะลึงกับความใหญ่โตของโขดหินนี้ โขดหินอูลูรูสูงถึง 348 เมตร วัดรอบฐานได้ 9 กม. นับว่าเป็นโขดหินที่ใหญ่ที่สุด แต่ที่จริงแล้วมันเป็นแค่ส่วนหนึ่งของภูเขาซึ่งจมลงไปในพื้นดิน

 

โขดหินอูลูรูเป็นหินอาร์โคส ซึ่งเป็นหินทรายสีแดงชนิดหนึ่ง ส่วนประกอบของหินชนิดนี้ทำให้สีสันอยู่หินเปลี่ยนแปลงได้อย่างอัศจรรย์ นับแต่ราตรีกาลถึงยามเช้าจากรุ่งอรุณถึงกลางวัน และกลางวันถึงพลบค่ำ นักท่องเที่ยวมากมายจึงมาเพื่อชมสีสันของโขดหินอูลูรูเมื่อพิจารณาดูใกล้ๆจะพบว่าโขดหินอูลูรูนี้มีความน่าสนใจการกัดเซาะของลมฝนในธรรมชาติทำให้เกิดสิ่งต่างๆเช่น ถ่ำ หรือ แอ่งน้ำ ก็ล้วนเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของชาวอะบอริจิ้น

 

แต่ธรรมชาติก็ทำให้โขดหินอูลูรูเสื่อมสภาพลงได้อย่างชัดเจนตามลักษณะของทะเลทราย ทำให้เกิดกระบวนการที่เรียกว่า สปอลลิง คือ ผิวนอกจะแตกและหลุดออกเป็นสะเก็ด ทางด้านเหนือของโขดหินอูลูรูสะเก็ดที่หลุดออกมากองทับถมเป็นกำแพงหินขนาดยักษ์ที่เรียกว่า หางจิงโจ้ ในหนังสือบันทึกความทรงจำชื่อ “ร่องรอยการเดินทาง” ของนักเดินทางคนหนึ่ง ได้บรรยายความประทับใจที่มีต่อโขดหินอูลูรูว่า “พลังลึกลับของโขดหินนี้ทำให้หัวใจของฉันเต้นแรง ฉันไม่เคยพบเห็นสิ่งใดที่ให้ความรู้สึกแปลกและงดงามอย่างดึกดำบรรพ์เช่นนี้มาก่อน

ผู้ไปเยือนโขดหินอูลูรูก็มักจะเกิดความรู้สึกแบบเดียวกัน และต่างพากันแปลกใจว่า เหตุใดตนเองจึงมีความรู้สึกอ่อนไหวกับโขดหินธรรมดาแค่นี้สำหรับชาวอะบอริจินีแล้ว รอยแตกทุกรอยบนโขดหินอูลูรูล้วนแฝงไว้ด้วยพลังไม่ว่านักท่องเที่ยวจะหลั่งไหลมาเยือนโขดหินอูลูรูกันมากมายเพียงใด ชาวอะบอริจินีก็ยังถือว่าตนเป็นผู้คุ้มครองดูแลพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ได้รับตกทอดจากบรรพบุรุษแห่งนี้ และโขดหินอูลูรูนี้ก็เป็นเสมือนศูนย์กลางของพื้นที่นั้นด้วย
NATUI Officially 2009-02-07 15:30:54 33299