คุณหมอวีซ่า by Pip Panasbodi (CP International Education & Migration Service)
ช่วงนี้คุณหมอวีซ่ากลับมาประจำการที่ซิดนีย์อีกครั้ง มีลูกค้าหลายต่อหลายท่านได้เข้ามาให้คุณหมอวีซ่ายื่นเรื่องวีซ่าประเภทต่างๆ และบ้างก็ให้ช่วยแก้เคสที่ยุ่งยาก หรือทำพลาดมาจากที่อื่นให้ หนึ่งในหัวข้อ สุดฮิตก็เห็นจะหนีไม่พ้นเรื่องของการติดเงื่อนไข 8503 (Condition 8503: 'No Further Stay') มาจากเมืองไทย แต่ ยังต้องการจะอยู่ต่อวีซ่าที่ออสเตรเลีย จะทำได้ไหม เพราะเจ้าตัวประสบปัญหาในด้านต่างๆที่ทำให้ไม่สามารถกลับไปต่อที่ไทยได้ เช่นบางคนก็ประสบปัญหาสุขภาพกลับไทยไม่ได้ หรือบางคนอาจจะติดในเรื่องของกำลังตั้งท้องอยู่ แฟนหรือสามีก็อยู่ที่นี่แต่ติดคอนดิชั่น 8503 ทำให้ไม่สะดวกต่อการกลับไปต่อวีซ่าที่ไทย ตอนนี้ภัยธรรมชาติก็ช่วยเป็นใจให้ ส่งน้ำไปท่วมบ้านเราจนบางท่านอยากกลับไปต่อวีซ่าก็ไปไม่ถึงบ้าน เพราะบ้านจมอยู่ใต้น้ำหาบ้านไม่เจอก็ว่าได้ ซึ่งลูกค้าหลายๆท่านก็วิ่งตรงมาหาคุณหมอวีซ่า ขอให้ช่วยทำเรื่องแก้ไขให้ จะได้อยู่ต่อวีซ่าที่นี่ อาจจะด้วยสาเหตุที่ในปัจจุบันนี้การขอหรือต่อวีซ่าออสเตรเลียนั้นยากแสนยาก ครั้นจะกลับไปต่อที่เมืองไทย ก็เผลอๆอาจจะไม่ได้กลับมากันอีกก็เป็นไปได้มากเลยทีเดียว วันนี้คุณหมอวีซ่าจึงอยากให้ท่านผู้อ่านทุกท่านที่สนใจมาทำความรู้จักกับ เจ้าเงื่อนไข Condition 8503: 'No Further Stay' ตัวนี้ว่าเป็นอย่างไร ร้ายแรงเพียงใด ทำอย่างไรจึงจะชักจูงให้อิมมิเกรชั่นเห็นด้วยกับเราในการพิจารณาเพิกถอนคอน ดิชั่นตัวนี้ให้ เพื่อเปิดโอกาสให้เราสามารถต่อวีซ่าภายในออสเตรเลียได้โดยไม่ต้องกลับไปเดิน เรื่องที่เมืองไทย?
Condition 8503: 'No Further Stay'
เงื่อนไข 8503 'No Further Stay' นั้นถือเป็นข้อบังคับทางกฎหมายที่เพิ่งตั้งขึ้นมาเพียงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี่ เอง ถ้าหากใครมีคอนดิชั่นตัวนี้ติดมาในวีซ่า ก็ไม่สามารถที่จะขอต่อวีซ่าตัวใดๆ หรือขอเปลี่ยนวีซ่าเป็นตัวอื่นในออสเตรเลียได้ เพราะคอนดิชั่นตัวนี้ไม่อนุญาตให้ผู้ถือวีซ่ามีสิทธิ์ต่อวีซ่าตัวใดๆภายใน ประเทศออสเตรเลีย คือต้องเดินทางกลับไปต่อที่ไทยหรือที่ประเทศอื่นแต่สถานเดียวเท่านั้น ซึ่งวีซ่าส่วนใหญ่ที่ติดคอนดิชั่นนี้ มักเป็นวีซ่าท่องเที่ยวหรือวีซ่าชั่วคราวค่ะ เช่น Sponsored Family Visitor visa (sc679) Professional Development Visa (sc 470) และ Work and Holiday Visa (sc462) ที่เห็นกันเป็นธรรมดา นั่น หมายความว่าถ้าหากใครถือวีซ่าท่องเที่ยวเข้ามาแล้วต้องการจะอยู่ต่อ แต่เกิดไปติดคอนดิชั่นนี้มา ก็คงต้องกลับไปต่อวีซ่านอกประเทศออสเตรเลียเท่านั้น
สาเหตุที่ทางรัฐบาลออสเตรเลียต้องกำหนดเงื่อนไขตัวนี้ขึ้นมา ก็เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ผู้คนใช้วีซ่าชั่วคราวตัวต่างๆที่ได้ไปในทางที่ ผิดวัตถุประสงค์ เช่น พยายามหาทางอาศัยอยู่ต่อระยะยาวในออสเตรเลียเพื่อหาทำงานต่อเนื่อง เป็นต้น และการมีกฎเช่นนี้ก็เพื่อให้มั่นใจว่าผู้รับวีซ่าทั้งหลายจะเดินทางออกจาก ออสเตรเลียก่อน วีซ่าหมดจริงๆ แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะไม่มีสิทธิ์ขอให้ทางอิมมิเกรชั่นเพิกถอน เงื่อนไขตัวนี้ให้เรา เพราะ ข้อบังคับ 2.05 (4) ของกฎหมายการย้ายถิ่นของออสเตรเลีย (Regulation 2.05(4) of Australia's migration legislation) ได้กล่าวไว้ว่า
The circumstances in which the Minister may waive [condition 8503] are:
(a) since the person was granted the visa that was subject to the condition, compelling and compassionate circumstances have developed:
(i) over which the person had no control; and
(ii) that resulted in a major change to the person's circumstances; and
(b) if the Minister has previously refused to waive the condition, the Minister is satisfied that the circumstances mentioned in paragraph (a) are substantially different from those considered previously; and
(c) if the person asks the Minister to waive the condition, the request is in writing'.
(from: http://www.immi.gov.au/media/fact-sheets/52bWaiving_Condition8503.htm)
กฎหมายเข้าเมืองฯของออสเตรเลียกำหนดไว้ว่า ท่านรัฐมนตรีประจำกระทรวงการตรวจคนเข้าเมืองและพลเมือง (Department of Immigration and Citizenship) สามารถเข้ามามีอำนาจในการเพิกถอนข้อบังคับของคอนดิชั่น 8503ได้ในกรณีที่มี compelling and compassionate reasons นั่นก็คือมีเหตุผลที่น่าเชื่อถือ น่าเห็นใจและยากที่จะปฏิเสธได้ ซึ่งสถานการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นเกินความสามารถที่คนๆนั้นจะควบคุมได้ และถ้าหากเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นจริงก็อาจส่งผลกระทบต่อตัวบุคคลนั้นๆได้ เช่นกำลังตั้งท้องและใกล้จะคลอดแล้ว ถ้าหากจะต้องเดินทางออกนอกประเทศระหว่างท้อง เด็กก็อาจจะคลอดก่อนกำหนด หรืออาจจะประสบปัญหาด้านสุขภาพทั้งคุณแม่และคุณลูก ตัวอย่างนี้ถือเป็นหนึ่งใน compelling and compassionate reasons ที่ทางอิมมิเกรชั่นอาจจะพิจารณายกเลิกคอนดิชั่นนี้ให้ แต่ทั้งนี้เหตุผลที่เรายื่นเข้าไปจะต้องมั่นใจจริงๆว่าเป็นจริง และเป็นเหตุผลที่ยากจะปฏิเสธได้ค่ะ อย่างไรก็ตามก็ต้องแล้วแต่กรณีและเจ้าหน้าที่อิมมิเกรชั่นนะคะว่าจะตัดสินใจ เพิกถอนให้หรือเปล่า เท่าที่คุณหมอวีซ่าทำสำเร็จมาก็อาศัยการเขียนเหตุผลเข้าไปดีๆ ประกอบกับยื่นเอกสารประกอบเข้าไปให้ครบ ก็มีโอกาสถอนได้ แต่ก็ไม่ง่ายนะคะ
รายละเอียดในเรื่องของคอนดิชั่น 8503 ค่อนข้างละเอียด ถ้าหากใครต้องการจะอ่านเพิ่มเติม สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.immi.gov.au/media/fact-sheets/52bWaiving_Condition8503.htm หรือ อยากจะเข้ามาปรึกษาการขอเพิกถอน Condition 8503 'No Further Stay' หรือปัญหาเรื่องวีซ่าอื่นๆกับคุณหมอวีซ่า ก็สามารถโทรเข้ามานัดได้ที่ซีพีฯ อินเตอร์ ได้เลยนะคะ tel: 02 9267 8522 ที่ซิดนีย์ค่ะ
ช่วงนี้ใกล้จะปิดเทอมสิ้นปีกันแล้วนะคะ ไม่ทราบว่าน้องๆมีแพลนจะไปเที่ยวไหนกันบ้างหรือเปล่า คุณหมอวีซ่าเห็นพี่ๆทีมงาน CPInter ตั้งหน้าตั้งตากันจัดกิจกรรม Cherry Picking ให้น้องๆมาร่วมสนุก จึงอยากเชิญชวนให้น้องๆมาเข้าร่วมทริปไปเก็บเชอร์รี่ฉลองปิดเทอม และฉลองคริสต์มาสไปในตัว นอกจากนี้ทางซีพี อินเตอร์ฯ ยังจัดอีกหนึ่งกิจกรรมดีๆโดยขอเชิญน้องๆนักเรียน นักศึกษาเข้าร่วมประกวดการเขียน “เรียงความวันพ่อ” ซึ่งทางซีพี อินเตอร์ฯ มีการจัดมอบรางวัลให้แก่ผู้ชนะการประกวดเรียงความครั้งนี้ และสมทบเงินทุนเท่าจำนวนรางวัล ไปช่วยผู้ประสบอุทกภัยที่บ้านเรา อิ่มทั้งกายและใจ แถมยังอิ่มบุญอีก กิจกรรมดีๆอย่างนี้เป็นสิ่งเพียงเล็กน้อยที่ซีพี อินเตอร์ฯ มอบให้กับพวกเรา คนไทยไม่ทิ้งกันนะคะ
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
CPInter เชิญร่วมประกวดเรียง ความวันพ่อ ช่วยอุทกภัย
คนไทย ไม่ทิ้งกัน ....... อุทกภัยครั้งใหญ่ครั้งนี้ส่งผลให้ประเทศไทยที่รักยิ่งของเราตกอยู่ในภาวะ วิกฤติ สงสารพ่อหลวงของเราทำงานหนักยิ่งนักด้วยความรักและความห่วงใยในลูกๆคนไทยของ ท่านทุกคน...ท่านได้เสียสละทั้งกายและใจในการหาวิธีช่วยภาวะน้ำท่วม ...ความรักและความเสียสละจากพ่อ เป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ยิ่งนัก...
ด้วยใน วาระวันเฉลิมพระชนม์พรรษาวันที่ 5 ธันวาคมแห่งปีอุทกภัยทั่วไทยครั้งนี้ ทาง CPInter จึงจัดให้มีกิจกรรมประกวดบทเรียงความเพื่อพ่อ โดยผู้ชนะจะได้รับรางวัลที่หนึ่ง เป็นจำนวน 3,000 บาท รางวัลที่ 2 เป็นจำนวน 2,000 บาท และรางวัลที่ 3 เป็นจำนวน 1,000 บาท รวมทั้งสิ้น 6,000 บาท โดยทาง CPInter จะช่วยบริจาคเงินจำนวนเท่ากันมูลค่า 6,000 บาทให้กับสภากาชาดไทยเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยครั้งนี้
กติกาในการร่วมประกวด บทความวันพ่อ
1. ผู้เข้าประกวดเป็นนักศึกษาไทยที่กำลังเรียนหนังสืออยู่ในประเทศออสเตรเลีย โดยสามารถอีเมลขอใบสมัครเข้าประกวดได้จาก pop@cpinter.com.au
2. บทความบรรยายความรู้สึกที่อยากจะบอกคุณพ่อเป็นภาษาไทย ความยาวไม่เกิน 250 คำ
3. หมดเขตรับสมัครวันที่ 25/11/2011 ประกาศผลวันที่ 05/12/2011
4. บทความจากผู้ชนะรางวัลทั้ง 3 ท่านจะได้รับการตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ Thai Press, เว็บ cpinter.com.au และ natui.com.au พร้อม ชื่อและรูปถ่าย
มั่นใจในคุณภาพอันเป็นเลิศของ CP International...