ค่าผ่านทางถนนหลายสายใน Sydney ได้สูงเพิ่มขึ้นมากกว่าอัตราเงินเฟ้อเสียอีกในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา โดยบางแห่งเพิ่มขึ้นมาสองเท่าตั้งแต่ปี 1999 เป็นต้นมาถึงแม้ว่าทางผู้จัดเก็บเงินค่าทางผ่านนั้นจะออกมากล่าวว่าเงินที่เก็บนั้นตรงตามดัชนีผู้บริโภคทุกอย่าง (CPI)
แต่หลังจากที่มีการทำการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงค่าทางด่วนในเดือนมิถุนายนในปี 1999 และในปี 2009 กลับแสดงให้เห็นความเป็นจริงที่หลายๆคนอาจไม่ทราบมาก่อน
ดัชนีผู้บริโภคได้ขึ้นมาอย่างเป็นทางการที่ 36.5% ในระยะเวลากว่า 10 ปีทีผ่านมา แต่ค่าผ่านทางกลับขึ้นมาระหว่าง 52 – 100% ในระยะเวลาเดียวกันนี้ สูตรการคำนวณการคิดค่าผ่านทางได้ถูกกำหนดไว้ในสัญญาของหน่วยงานที่รับผิดชอบเส้นทางบนถนน และอนุญาตให้มีการปัดเศษของค่าผ่านทางไปเป็น 20 เซนต์หรือ 50 เซนต์บ้าง และเป็นเหตุผลทีทำให้ค่าผ่านทางมีราคาแพงเป็นอย่างมาก
ส่วนปัจจัยอื่นที่อยู่เบื้องหลังได้แก่ภาษีการจราจรของรัฐบาลรัฐ New South Wales บนเส้นทางข้าม Habour และ GST อีกต่างหากด้วย
ค่าผ่านทางในชั่วโมงเร่งด่วนข้ามสะพาน Habour Bridge และอุโมง Sydney Harbour Tunnel ราคาขึ้นมา 100% จากเดิม 2 เหรียญไปเป็น 4 เหรียญ เนื่องจากภาษีการจราจร ส่วนในวันที่ไม่มีการจราจรคับคั่งมากนั้นค่าผ่านทางเพิ่มเพียงแค่ 50%
ค่าผ่านทางบนเส้น M2 ที่เชื่อมต่อระหว่างเมืองและฝั่ง Northwest ขึ้นมา 98% จาก 2.50 เหรียญไปเป็น 4.95 เหรียญ ส่วนเส้น M5 ไปยัง Southwest เพิ่มขึนมา 52% ส่วน M4 ไปยังฝั่งตะวันตกเพิ่มขึ้นมา 72%
#news#
จากการายงานของ NRMA หน่วยงานที่ดูแลการสัญจรไปมาบนถนน ได้นำกลยุทธการปัดตัวเลขเข้ามาใช้ ซึ่งทำให้ผู้ที่ใช้รถใช้ถนนเสียเปรียบเป็นอย่างมาก และด้วยวิธีการปรับตัวเลขนี้ ทำให้หน่วยงานอ้างได้ว่าตัวเลขค่าผ่านทางมีการปรับตรงตามที่ได้กำหนดไว้
ทาง NRMA ยังได้กล่าวไว้อีกว่าผู้ที่ใช้เส้นทาง M4 ที่ต้องจ่ายเป็นค่าผ่านทาง 2.75 เหรียญจะต้องจ่ายเป็นเงินจริงๆแล้วที่ 2.16 เหรียญเท่านั้นอย่างไรก็ตามรัฐบาลรัฐ NSW ได้ออกมาปฎิญาณตนที่จะยกเลิกด่านเก็บเงินเสียในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ปีหน้า
ส่วนเส้น M5 ควรจะเก็บเงินจำนวน 3.38 เท่านั้นไม่ใช่ 3.80 เหรียญ ส่วนผู้ที่ใช้เส้นทาง M2 ถูกเก็บเงินมากเพิ่มขึ้นมา 50 เหรียญ หรือที่คิดเป็นอัตรามากกว่าอัตราสภาวะเงินเฟ้อ ส่วนถนนใหม่อย่าง M7 กลับมีการปรับค่าผ่านทางตรงตามดัชนีผู้บริโภค